เกี่ยวกับสำนักงาน > เกี่ยวกับสำนักงาน
  

หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด


สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 สังกัดกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง

หน้าที่รับผิดชอบ

  • บริหารการจัดเก็บภาษี และการป้องกันและปราบปรามผู้ลักลอบกระทำผิดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
  • กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
  • การตรวจสอบภาษีตามระเบียบกรมสรรพสามิต เรื่อง การตรวจสอบภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และระเบียบกรมสรรพสามิต เรื่อง ทะเบียนควบคุมการตรวจสอบภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ด้วยระบบการตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางบัญชี และการประเมินภาษี รวมทั้งการตรวจปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
  • การบูรณาการร่วมกับ ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามภารกิจการป้องกันและปราบปรามตามแนวชายแดนและงานในพื้นที่ งานนโยบายรัฐบาล งานนโยบายจากกรมสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตภาค และจังหวัดตราด
  • ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต

            

           สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด ตั้งอยู่เลขที่ 226 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด แบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้

และมีหน่วยงานภายใต้กำกับดูแล จำนวน 2 หน่วยงาน คือ 

  1. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด สาขาเมืองตราด ตั้งอยู่อาคารสำนักงานสรรพสามิต เลขที่ 226 ชั้น 2 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตอำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ และอำเภอเกาะกูด
  2. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด สาขาเขาสมิง ตั้งอยู่ที่อาคารพาณิชย์ (เช่าเอกชน) เลขที่ 115/26-27 หมู่ที่ 9 ถนนแสนตุ้ง-บางกระดาน ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตอำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเกาะช้าง
 

  

bullet_blue.pngฝ่ายอำนวยการ
    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • ปฏิบัติงานอำนวยการทั่วไปของสำนักงาน เช่น ธุรการ งานบันทึกข้อมูล งานสารบรรณ งานด้านพัสดุครุภัณฑ์ และงานด้านการบริหารงานบุคคล
  • ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการบริหารเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ จัดทำคำของบประมาณประจำปีของหน่วยงานและดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านงบประมาณ การเงิน และบัญชีทุกประเภทที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือที่กรมสรรพสามิตได้มอบอำนาจให้ปฏิบัติในกรณีต่างๆ
  • ดำเนินการเบิก-จ่าย เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณด้วยระบบบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ (GFMIS) 
  • จัดทำงบเดือนและรายงานทางการเงิน การรวบรวม ตรวจสอบรายงานทางการเงินและความถูกต้องของข้อมูลการเคลื่อนไหวทางบัญชีของระบบปฏิบัติการ GFMIS 
  • การศึกษา วิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการ หรือปฏิบัติงานตามแผนยุทธ์ศาสตร์ นโยบายของกรมสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตภาค พื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของกรมสรรพสามิต ภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บเพื่อป้องกันการกระทำผิดตามกฎหมายสรรพสามิต รวมทั้งให้การสนับสนุน คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน
  • ตรวจตัดปีเงินผลผระโยชน์ เอกสารตัวเงิน แสตมป์สรรพสามิต เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและพัสดุครุภัณฑ์ประจำปีรายไตรมาส รายปี
  • ประสานงานและให้บริการทั่วไปในงานที่เกี่ยวข้องแก่ส่วนต่างๆภายในสำนักงานและปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับส่วนราชการต่างๆภายในจังหวัดหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
  • รับผิดชอบเงินกองทุนสวัสดิการสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด
  • ปฏิบัติงานอื่นซึ่งไม่อยู่ในหน้าที่ของส่วนใดโดยเฉพาะและตามที่ได้รับมอบหมาย
กลับด้านบน

  

bullet_blue.pngฝ่ายบริหารการจัดเก็บภาษี
    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • การวิเคราะห์ผลการจัดเก็บภาษี สรุปสาเหตุที่จัดเก็บได้สูง-ต่ำกว่าเป้าหมาย พร้อมทั้งชี้แจงปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางการแก้ไขเสนอต่อสรรพสามิตพื้นที่
  • การวิเคราะห์แบบรายการภาษีสรรพสามิต (ภส.03-07) กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรม ตรวจสอบกับแบบแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ (ภส.02-01) บัญชีประจำวันแสดงการรับและการจ่ายวัตถุดิบ (ภส.07-01) บัญชีประจำวันแสดงการผลิตและจำหน่าย (ภส.07-02) และงบเดือนแสดงรายการเกี่ยวกับวัตถุดิบ การผลิต การจำหน่ายและยอดสินค้าคงเหลือ (ภส.07-04) สำหรับสินค้า เพื่อให้การจัดเก็บภาษีถูกต้อง ครบถ้วน
  • การวิเคราะห์แบบรายการภาษีสรรพสามิต (ภส.03-08) กรณีผู้ประกอบกิจการสถานบริการ ตรวจสอบกับแบบแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ (ภส.02-02) บัญชีประจำวันแสดงรายรับค่าบริการ (ภส.07-05) และงบเดือนแสดงรายการรายรับกิจการสถานบริการ(ภส.07-04) สำหรับสถานบริการ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีถูกต้อง ครบถ้วน
  • การตรวจวิเคราะห์แบบคำขออนุญาตนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร (ภส.08-01) สินค้านำเข้ากรณีด่านศุลกากรตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีถูกต้อง ครบถ้วน
  • การออกใบอนุญาตนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร (ภส.08-02)
  • การพิจารณาเสนอขออนุมัติคืนภาษี ยกเว้นภาษีและการลดหย่อนภาษีตามที่ได้รับมอบหมายเสนอต่อสรรพสามิตพื้นที่
  • การพิจารณาการออกใบอนุญาตผลิตสุรา ยาสูบ ไพ่ พร้อมทั้งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ และที่ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บ
  • ประมาณการเบิก - จ่าย ควบคุม ตรวจสอบ การเก็บรักษา การเบิก - จ่ายแสตมป์สรรพสามิต
  • การจดทะเบียนสรรพสามิต การแจ้ง เลิก โอน ย้ายกิจการโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำ 
  • ตรวจสอบความถูกต้องของการรับและนำส่งรายได้ Interface GFMIS ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
  • การติดตาม รวบรวม ตรวจสอบและจัดทำรายงาน งบเดือน สถิติ ฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ  
  • ดำเนินการเกี่ยวกับเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • ตรวจสอบสินค้านำเข้า-ส่งออกราชอาณาจักรและสินค้าขออนุญาตผ่านแดนเพื่อนำส่งออกไปยังประเทศที่สาม
  • กำกับ ดูแล ควบคุม การผลิต-จำหน่าย และการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าในความควบคุมของกรมสรรพสามิตตามที่กำหนดในกฎหมาย และระเบียบให้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆของทางราชการ
  • การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรมสรรพสามิต/ภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บเพื่อป้องกันการกระทำผิดตามกฎหมายสรรพสามิต 
  • ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
  • ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความสนับสนุนงานด้านการจัดเก็บภาษีแก่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
  • ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
  • ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
     
กลับด้านบน

 

bullet_blue.pngฝ่ายปราบปราม
    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • ดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บ รวมทั้งระเบียบข้อบังคับต่าง
  • วางแผนการสืบสวน ป้องกันและปราบปราม และออกปฏิบัติการสืบสวนและปราบปรามผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
  • ตรวจร้านค้า โรงอุตสาหกรรม และสถานบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการ
  • การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรมสรรพสามิตและภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บ เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต
  • กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความสนับสนุนงานด้านป้องกันและปราบปรามแก่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
  • ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
  • จัดทำฐานข้อมูลผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตในพื้นที่ความรับผิดชอบ
  • ประสานงานและบูรณาการร่วมกับทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
     
กลับด้านบน

 

bullet_blue.pngฝ่ายกฎหมาย
    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
  • ดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งตอบข้อหารือและให้คำปรึกษาแนะนำ ความรู้ ความเข้าใจในข้อกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้เสียภาษี ผู้ประกอบการ หน่วยงานในสังกัดหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • กำกับ ติดตาม การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายภายในพื้นที่ความรับผิดชอบ
  • ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านงานคดีในทางแพ่ง คดีอาญา และคดีทางปกครอง
  • การตรวจสอบสำนวนและติดตามผลการเปรียบเทียบคดี ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และพื้นที่สาขา
  • ปฏิบัติงานเกี่ยวกับของกลางในคดีกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต
  • งานพิจารณา ตรวจสอบการจัดทำนิติกรรม สัญญา หรือเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
  • งานสืบสวนข้อเท็จจริงในเบื้องต้น กรณีข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ถูกร้องเรียนกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย และงานสืบสวนข้อเท็จจริงในเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมายอำนาจจากกรมสรรพสามิต
  • การจัดทำรายงานสถิติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบงานผู้กระทำผิดให้เป็นปัจจุบัน
  • ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
  • ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กลับด้านบน