เกี่ยวกับสำนักงาน > เกี่ยวกับสำนักงาน
  

 สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1

 

สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1  มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับประเภทสินค้า สุรา ยาสูบ ไพ่ เครื่องดื่ม แก้ว พรมเครื่องสำอาง  สนามแข่งม้า สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ไนท์คลับ ดิสโกเธค กิจการโทรคมนาคม และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น ดังนี้

 

               1. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะ และพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า และบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               2. กำหนดกลยุทธ์และวางแนวทางในการบริหารจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความทันสมัย ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

               3. กำกับ ดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลการบริหารการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนัก ของหน่วยจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั่วประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย กลยุทธ์ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ที่กำหนดไว้

               4. กำหนดมูลค่าของสินค้าและบริการเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี

               5. กำกับ ดูแล ตรวจปฏิบัติการ ตรวจสอบ สืบค้น และประมวลหลักฐาน ณ โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการ หรืออื่นๆ เกี่ยวกับบัญชีเอกสารหลักฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการพิจารณากำหนดมูลค่าของสินค้าและบริการเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี และเพื่อให้การบริหารการ

จัดเก็บภาษีในภาพรวมมีประสิทธิภาพ

               6. พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               7. พิจารณา กำกับดูแล การผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน การจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และการกำหนดลักษณะแสตมป์สรรพสามิต                 

               8. ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย  

 

การแบ่งงานภายใน

 

               สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1  มีการแบ่งงานภายใน ออกเป็น 1 ฝ่าย 3 ส่วน ดังนี้

                   1. ฝ่ายอำนวยการ

                   2. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1 (สุรา เบียร์ และเอทานอล)

                       - ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (สุรา)

                       - ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (เบียร์ เอทานอล)

                       - ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (สุรา)

                       - ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (เบียร์ เอทานอล)

                   3. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 (ยาสูบ  ไพ่)

                       - ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี  (บุหรี่ซิกาแรต)

                       - ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (ยาสูบนอกจากบุหรี่ซิกาแรต  ยาเส้น ใบยาสูบ ไพ่)

                       - ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (บุหรี่ซิกาแรต)

                       - ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (ยาสูบนอกจากบุหรี่ซิกาแรต ยาเส้น ใบยาสูบ ไพ่)

                   4. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 3 (เครื่องดื่ม แก้ว พรม เครื่องสำอาง สนามแข่งม้า สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ไนท์คลับ และดิสโกเธค  กิจการโทรคมนาคม และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น)

                       - ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (เครื่องดื่ม)

                       - ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (แก้ว พรม  เครื่องสำอาง  สนามแข่งม้า สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ไนท์คลับ และดิสโกเธค กิจการโทรคมนาคม และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น)

                       - ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (เครื่องดื่ม)

                                   - ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (แก้ว พรม  เครื่องสำอาง  สนามแข่งม้า สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ไนท์คลับ และดิสโกเธค กิจการโทรคมนาคม และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น)

 

1. ฝ่ายอำนวยการ  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

               -  บริหารงานสารบรรณ และกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานธุรการทั่วไปของสำนัก

               -  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับบริหารงานบุคคลภายในสำนัก

                -  เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่และงานอื่น ๆ  ซึ่งไม่อยู่ ในหน้าที่ของส่วนงานใดในสำนัก

                -  การจัดเตรียมการประชุม การจดบันทึกการประชุม และการจัดทำรายงานการประชุมที่อยู่ในความรับผิดชอบ

               -  จัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ และงบประมาณเกี่ยวกับการบริหารงานของสำนัก

               -  ติดตาม เร่งรัด รวบรวม และรายงานแผนงาน/โครงการ เพื่อสนับสนุนผลการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการของส่วนต่าง ๆ ในสำนัก

               -  ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุของสำนัก

               -  ประสานงานและให้บริการทั่วไปในงานที่เกี่ยวข้องแก่ส่วนต่าง ๆ ภายในสำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

              

 

2. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสินค้าประเภท สุรา เบียร์ เอทานอลในด้านต่างๆ ดังนี้

 

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษา วิเคราะห์แนวทางและกลยุทธ์ เพื่อเสนอแนะ ปรับปรุง/พัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดมูลค่าของสินค้าในความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต และสนับสนุนยุทธศาสตร์ นโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล

               - ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี การกำหนดมาตรฐานการจัดเก็บภาษี การกำหนดมูลค่าของสินค้า รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้กับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา ตรวจสอบ ระบบการบริหารการจัดเก็บภาษีพร้อมปัญหาต่าง ๆ ในเชิงบูรณาการเพื่อกำหนดกลยุทธ์ หรือวางแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ประกาศ ระเบียบ คำสั่งและแนวปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี  การกำหนดมูลค่าของสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี  การตรวจปฏิบัติการ การควบคุมการผลิตและจำหน่าย การยกเว้น การลดหย่อน การลดอัตรา และการคืนภาษี รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม

               - ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลในการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการรวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน  รวมทั้งให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี

               - ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

               - ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษีรวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลและอื่น ๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               - ศึกษา วิเคราะห์ คาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต รวมทั้งติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้

เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               - รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วประเทศ

               - ตรวจปฏิบัติการ ติดตามกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด                                 

               - ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี การตรวจปฏิบัติการ การตรวจสอบ (Pre-Audit และ Post-Audit) การเร่งรัดการจัดเก็บภาษี และการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี

               - พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ

               - จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               - พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               - ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               - ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1 มีการแบ่งงานภายในออกเป็น 4 ฝ่าย  ดังนี้

 

     2.1  ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (สุรา)   มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

               - กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมูลค่าสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี

               - ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - พิจารณา ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงหรือวางหลักเกณฑ์ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - พัฒนาและปรับปรุง หลักเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้า

               - พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการในการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               - ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี 

               - จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               - ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               - ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  

 

             2.2  ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี  (เบียร์  เอทานอล)   มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

               - กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมูลค่าสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี

               - ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - พิจารณา ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงหรือวางหลักเกณฑ์ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - พัฒนาและปรับปรุง หลักเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               - พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้า

               - พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการในการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               - ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี 

               - จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               - ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               - ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

2.3  ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี  (สุรา)   มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                - ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล เป็นธรรม และโปร่งใส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับในการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานการวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 

               - ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (Tax Administration Data Center ) รวมทั้งการประสานงาน

ด้านข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               - ศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต

               - ติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               - รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี และติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               - ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องในความรับผิดชอบให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน   หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               - ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา แนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี

               - ศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียดข้อมูลของผู้ประกอบการ (Template) หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย

               - พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               - ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี 

               - จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน                

               - ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก 

               - ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

               2.4  ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี  (เบียร์  เอทานอล)  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                - ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล เป็นธรรม และโปร่งใส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

ศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับในการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 

-ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (Tax Administration Data Center ) รวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต

               -  ติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี และติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน   หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา แนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียดข้อมูลของผู้ประกอบการ (Template) หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย   

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน               

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

              

3. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสินค้าประเภท ยาสูบ ไพ่ ในด้านต่าง ๆ  ดังนี้

 

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -                 - ศึกษา วิเคราะห์แนวทางและกลยุทธ์ เพื่อเสนอแนะ ปรับปรุง/พัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ     และขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดมูลค่าของสินค้าในความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต   และสนับสนุนยุทธศาสตร์นโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล

               -  ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี การกำหนดมาตรฐานการจัดเก็บภาษี การกำหนดมูลค่าของ

สินค้า รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้กับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา ตรวจสอบ ระบบการบริหารการจัดเก็บภาษีพร้อมปัญหาต่าง ๆ ในเชิงบูรณาการเพื่อกำหนดกลยุทธ์  หรือวางแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ประกาศ ระเบียบ คำสั่งและแนวปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี  การกำหนดมูลค่าของสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี  การตรวจปฏิบัติการ การควบคุมการผลิตและจำหน่าย การยกเว้น การลดหย่อน การลดอัตรา และการคืนภาษี รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม

               -  ศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตใบยา เพื่อใช้ในการกำหนดราคารับซื้อใบยาขั้นต่ำ

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลในการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการรวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน  รวมทั้งให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

               -  ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษีรวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลและอื่น ๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ คาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต รวมทั้งติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วประเทศ

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี การตรวจปฏิบัติการ การตรวจสอบ (Pre-Audit และ        Post-Audit) การเร่งรัดการจัดเก็บภาษี และการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี

               -  พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และการดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษี สำหรับกรณีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน

สรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรม

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2  มีการแบ่งงานภายในออกเป็น  4 ฝ่าย ดังนี้    

 

3.1  ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (บุหรี่ซิกาแรต )  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมูลค่าสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี

               -  ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงหรือวางหลักเกณฑ์ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พัฒนาและปรับปรุง หลักเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้า

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงาน

สรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต      

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

               3.2  ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี   (ยาสูบนอกจากบุหรี่ซิกาแรต  ยาเส้น ใบยาสูบ ไพ่) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมูลค่าสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี

               -  ศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตใบยา เพื่อใช้ในการกำหนดราคารับซื้อใบยาขั้นต่ำ

               -  ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงหรือวางหลักเกณฑ์ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พัฒนาและปรับปรุง หลักเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้า

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงาน

สรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต      

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   

 

               3.3  ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี  (บุหรี่ซิกาแรต)  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้         

 

               -  ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล เป็นธรรม และโปร่งใส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับในการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 

               -  ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (Tax Administration Data Center ) รวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต

               -  ติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี และติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน    หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา แนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียดข้อมูลของผู้ประกอบการ (Template) หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย   

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน               

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

               3.4  ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (ยาสูบนอกจากบุหรี่ซิกาแรต  ยาเส้น ใบยาสูบ ไพ่) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 

 

               -  ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล เป็นธรรม และโปร่งใส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับในการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน
การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
 

               -  ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (Tax Administration Data Center ) รวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต

               -  ติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี และติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน   หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา แนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียดข้อมูลของผู้ประกอบการ (Template) หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย   

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน               

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

4. ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 3  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสินค้าและบริการประเภทเครื่องดื่ม แก้ว พรม เครื่องสำอาง  สนามแข่งม้า 
สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด ไนท์คลับ ดิสโกเธค กิจการโทรคมนาคม  และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้ 

 

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -                 -  ศึกษา วิเคราะห์แนวทางและกลยุทธ์ เพื่อเสนอแนะ ปรับปรุง/พัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดมูลค่าของสินค้าและบริการในความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต และสนับสนุนยุทธศาสตร์ นโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล

-                                -  ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี การกำหนดมาตรฐานการจัดเก็บภาษี การกำหนดมูลค่าของสินค้า รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้กับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา ตรวจสอบ ระบบการบริหารการจัดเก็บภาษีพร้อมปัญหาต่าง ๆ ในเชิงบูรณาการเพื่อกำหนดกลยุทธ์  หรือวางแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ประกาศ ระเบียบ คำสั่งและแนวปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี  การกำหนดมูลค่าของสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี  การตรวจปฏิบัติการ การควบคุมการผลิตและจำหน่ายการยกเว้น การลดหย่อน การลดอัตรา และการคืนภาษี รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลในการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการรวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน  รวมทั้งให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

               -  ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษีรวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลและอื่น ๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ คาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต รวมทั้งติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               - .รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วประเทศ

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน   หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี การตรวจปฏิบัติการ การตรวจสอบ (Pre-Audit และ Post-Audit) การเร่งรัดการจัดเก็บภาษี และการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี

               -  พิจารณา กำกับดูแล การผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน การจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และการกำหนด ลักษณะแสตมป์สรรพสามิต

               -  พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และการดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษี สำหรับกรณีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรม

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

ส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 3    มีการแบ่งงานภายในออกเป็น  4  ฝ่าย  ดังนี้

               4.1  ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี  (เครื่องดื่ม)      มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมูลค่าสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี

               -  ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดมูลค่าสินค้า

               -  ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงหรือวางหลักเกณฑ์ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พัฒนาและปรับปรุง หลักเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้า

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการในการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               -  พิจารณา กำกับดูแล การผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน การจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และการกำหนด ลักษณะแสตมป์สรรพสามิต

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

               4.2  ฝ่ายมาตรฐานและมูลค่าการจัดเก็บภาษี (แก้ว พรม เครื่องสำอาง สนามแข่งม้า  สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด  ไนต์คลับ ดิสโกเธค กิจการโทรคมนาคม  และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

               -  กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               - ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ            

กรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าและบริการในการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษาวิเคราะห์ราคาและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมูลค่าสินค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี

               -  ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกำหนดมาตรฐานและมูลค่าสินค้าและบริการในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงหรือวางหลักเกณฑ์ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดมูลค่าสินค้าและบริการในการจัดเก็บภาษี

               -  พัฒนาและปรับปรุง หลักเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าและบริการในการจัดเก็บภาษี

               -  พิจารณา วินิจฉัย ปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าและบริการ

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต   

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

              

               4.3  ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี  (เครื่องดื่ม) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

               -  ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล เป็นธรรม และโปร่งใส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับในการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 

               -  ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (Tax Administration Data Center ) รวมทั้งการประสานงานด้านข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต

               -  ติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

              -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี และติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน   หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา แนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา และวิเคราะห์ รูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย 

               -  วิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลของผู้ประกอบการ (Template)

               -  ติดตามและกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               -  พิจารณา กำกับดูแล การผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน การจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และการกำหนดลักษณะแสตมป์สรรพสามิต

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน               

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

               4.4   ฝ่ายพัฒนาและกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี  (แก้ว พรม เครื่องสำอาง สนามแข่งม้า  สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด  ไนท์คลับ ดิสโกเธค กิจการโทรคมนาคม และสินค้า บริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

               -  ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล เป็นธรรม และโปร่งใส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับในการนำระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดเก็บภาษี การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

การรายงาน การวางแผน และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 

               -  ศึกษาและพัฒนาศูนย์ข้อมูลในการบริหารกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี (Tax Administration Data Center ) รวมทั้งการประสานงาน

ด้านข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รายได้ของกรมสรรพสามิต

               -  ติดตาม วิเคราะห์และตรวจสอบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ เพื่อกำหนดมาตรการในการเร่งรัดการจัดเก็บภาษี

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี และติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลการบริหารการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี

               -  ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา แนวทางการกำกับดูแลการจัดเก็บภาษี

               -  ตรวจปฏิบัติการ และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน   หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด

               -  ศึกษา และวิเคราะห์ รูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย 

               -  วิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลของผู้ประกอบการ (Template)

               -  ติดตามและกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

               -  พิจารณา อนุมัติ อนุญาต และดำเนินการด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสรรพสามิตภาค สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา หรือกรณีอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกรมสรรพสามิต

               -  ศึกษาปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษี

               -  จัดทำคู่มือและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงาน               

               -  ประสานงาน/ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

               -  ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย