การจัดการองค์ความรู้

Knowledge Management

ตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

ประจำปีงบประมาณ 2560

ครั้งที่ 2

วันที่ 31 พฤษภาคม 2560

บำเหน็จตกทอด

“บำเหน็จตกทอด” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย

ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการอยู่ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตาย ถ้าความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเองให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนตามเกณฑ์คำนวณ เงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามเกณฑ์ ดังนี้

1. บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน

  2. สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน

  3. บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน

  ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ

  ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

  ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อนให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง

  ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้ว หากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่าง

ทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตายของเจ้าบำนาญ ในกรณีเช่นนี้ ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาท ซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด

/ในกรณี…

2 -

  ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้ กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด

  ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้มีสิทธิจะได้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตาย ให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนสามสิบเท่าของบำนาญรายเดือนรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับและให้จ่ายตามส่วนและหลักเกณฑ์ที่กำหนด

  ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว เมื่อผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตาย การจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน

  การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด

  ให้ข้าราชการหรือผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญจัดทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามแบบ 1 จำนวนสองฉบับมีข้อความตรงกัน ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุลของผู้รับบำเหน็จตกทอดให้ชัดเจน ในกรณีที่แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดเกินหนึ่งคนให้กำหนดส่วนที่ผู้รับบำเหน็จตกทอดแต่ละคนจะมีสิทธิได้รับให้ชัดเจนด้วย หากไม่ได้กำหนดส่วนไว้ ให้ถือว่าผู้รับบำเหน็จตกทอดทุกคนที่ระบุไว้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดในส่วนที่เท่ากัน

หนังสือแสดงเจตนา ให้ผู้แสดงเจตนาเก็บรักษาไว้หนึ่งฉบับ ส่วนอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้ในสมุดประวัติ แฟ้มประวัติ หรือแฟ้มข้อมูลการรับเบี้ยหวัดบำนาญของผู้นั้น หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขหนังสือที่ทำไว้แล้ว ให้ทำตามแบบ 2 จำนวนสองฉบับมีข้อความตรงกัน ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือต่อส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ  

  หนังสือแสดงเจตนา ให้มีผลนับแต่วันที่ได้ยื่นหนังสือแสดงเจตนา

  บำเหน็จตกทอดกรณีข้าราชการตาย

  ให้ทายาทผู้มีสิทธิของข้าราชการผู้ถึงแก่ความตาย หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ถึงแก่ความตายได้แสดงเจตนาไว้ ลงชื่อขอรับบำเหน็จตกทอด และให้คำรับรองว่าจะชดใช้เงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ ตลอดจนค่าเสียหายต่าง ๆ คืนแก่ทางราชการในแบบคำขอกับแสดงเจตนาขอรับทางกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วน

ราชการที่เทียบเท่า หรือจังหวัด หรืออำเภอที่มีคลังจังหวัด ณ อำเภอ (สำหรับผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ ให้ผู้ปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล

/ลงชื่อแทน...

3 -

ลงชื่อแทนหรือให้ความยินยอมแล้วแต่กรณี) ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือจังหวัดที่ข้าราชการผู้ตายรับราชการครั้งสุดท้ายพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องแนบแบบขอรับ

  หลักฐานเกี่ยวกับการตาย

1. สำเนามรณบัตร กรณีตายโดยเหตุปกติ หรือสำเนามรณบัตรประกอบหลักฐานการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น รายงานการชันสูตรพลิกศพ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี รายงานการสอบสวน ฯลฯ กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ

2. สำเนาคำสั่งศาล สำหรับผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ประทับตรา “ตาย”

4. หลักฐานการสอบสวน พร้อมทั้งสรุปความเห็นของคณะกรรมการที่ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งเพื่อสอบสวนพฤติการณ์และกรณีแวดล้อมทั่ว ๆ ไป สำหรับผู้ที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าการตายมีสาเหตุเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเองหรือไม่

5. หลักฐานการวินิจฉัยของกระทรวงเจ้าสังกัดว่า ถ้าผู้นั้นไม่ถึงแก่ความตายเสียก่อนจะต้องได้รับโทษถึงไล่ออก หรือปลดออกจากราชการหรือไม่ สำหรับผู้ตายที่มีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและยังไม่ได้รับการวินิจฉัยเรื่องที่กระทำผิดวินัยนั้น

  หลักฐานเกี่ยวกับทายาท

1. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาและมารดา กรณียังมีชีวิตอยู่ หรือสำเนามรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ (เช่น พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง) กรณีที่ตายไปก่อนแล้ว

2. หลักฐานการเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ได้แก่

    2.1 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของ บิดา มารดา หรือสำเนาทะเบียนฐานะของภริยา (มารดาของผู้ตาย) หรือ

    2.2 หนังสือรับรองของผู้ควรเชื่อถือได้ ที่รับรองว่าบิดา มารดาสมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 หรือ

    2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตรของบุตรร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งเกิดภายในปี พ.ศ.2478 หรือก่อนนั้น

หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรส

1. สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรส

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. สำเนามรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้กรณีที่คู่สมรสตายไปก่อน

/4. สำเนา

- 4 -

4. สำเนาทะเบียนการหย่า หรือใบสำคัญการหย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการหย่า

5. สำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลที่แสดงว่าคู่สมรสคนใดเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มี

การสมรสซ้อน

หลักฐานเกี่ยวกับบุตร

1. บันทึกแจ้ง วัน เดือน ปีเกิด ของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกคน พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้านที่

แสดงวัน เดือน ปีเกิด ทางสุริยคติ โดยครบถ้วนของบุตรที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด

2. สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของผู้ตายกับมารดาของบุตร หรือสำเนาทะเบียน

การรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร

3. บันทึกรับรองการมีบุตรชอบด้วยกฎหมายในครรภ์มารดา (ถ้ามี)

4. สำเนามรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตายของผู้ควรเชื่อถือได้กรณีที่มีบุตรตาย

5. สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม กรณีที่มีบุตรบุญธรรม

หลักฐานเกี่ยวกับบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ ได้แก่

  1. แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด

  2. สำเนาทะเบียนบ้าน

  หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งลงชื่อให้ความยินยอมในการขอรับ หรือขอรับบำเหน็จตกทอดแทนผู้มีสิทธิ ได้แก่ สำเนาทะเบียนการรับรองบุตร สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม หรือสำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี

กรณีเป็นสมาชิก กบข.

  แบบบันทึกสอบปากคำของทายาท (แบบ ป.ค.14)

(แบบ ป.ค.14 หมายถึง การบันทึกสอบปากคำของทายาท ให้ทายาท (บุตร คู่สมรสและบิดามารดา) ไปสอบปากคำที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้าน สำนักงานเขตจะออกหนังสือแบบบันทึกสอบปากคำ (แบบ ป.ค.14) ใช้เป็นเอกสารประกอบการขอรับเงินจาก กบข. ใช้สองชุด รับรองสำเนาถูกต้องด้วย

บำเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบำนาญตาย

เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้ทายาทหรือผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแจ้งให้ผู้เบิกจ่ายบำนาญทราบ และให้ผู้เบิกจ่ายบำนาญแจ้งการหมดสิทธิรับบำนาญของผู้นั้นให้สำนักเบิกบำนาญ

ให้ทายาทผู้มีสิทธิของผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย หรือบุคคลซึ่งผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาไว้ แล้วแต่กรณี ลงชื่อขอรับบำเหน็จตกทอด พร้อมทั้งให้คำรับรองว่าจะชดใช้เงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิตลอดจนค่าเสียหายต่าง ๆ ในแบบคำขอกับแสดงเจตนาขอรับทางกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เทียบเท่า

/หรือ...

5 -

หรือจังหวัด หรืออำเภอที่มีคลังจังหวัด ณ อำเภอ (สำหรับผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ ให้ผู้ปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล ลงชื่อแทน หรือให้ความยินยอมแล้วแต่กรณี) แล้วยื่นต่อส่วนราชการ หรือจังหวัดที่ผู้ตายรับบำนาญครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี

บำเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบำเหน็จรายเดือน หรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนตาย

ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือน ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

จำนวนบำเหน็จตกทอดที่จ่าย

ข้าราชการถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ

สูตร เงินเดือนเดือนสุดท้าย * เวลาราชการ (ปี)

ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย

สูตร บำนาญรายเดือน + ช.ค.บ. * 30 - บำเหน็จดำรงชีพ (ถ้ามี)

ผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตาย

สูตร บำเหน็จรายเดือน หรือบำเหน็จพิเศษรายเดือน * 15

/เงินช่วยพิเศษ

6 -

เงินช่วยพิเศษ

  

กรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย

ข้าราชการถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย

จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนา โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด

ถ้าข้าราชการผู้ตายมิได้แสดงเจตนาไว้ หรือบุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายแสดงเจตนาไว้ตายก่อนข้าราชการผู้ตายหรือก่อนมีการจ่ายเงิน ก็ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้

  1. คู่สมรส

  2. บุตร

  3. บิดามารดา

  เมื่อปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนมีชีวิตอยู่ บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ

  ถ้าผู้มีสิทธิในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จัดการศพ

  การขอรับเงินช่วยพิเศษ ให้กระทำภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย

กรณีลูกจ้างถึงแก่ความตาย

“ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย

ลูกจ้างผู้ใดตายในระหว่างรับราชการให้จ่าย ”เงินช่วยพิเศษ” เป็นจำนวน 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างปกติในเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย ได้รับค่าจ้างก่อนวันถึงแก่ความตาย

คำถาม KM เรื่อง บำเหน็จตกทอด

ตอบคำถาม ใส่เครื่องหมาย P หน้าข้อที่ถูกต้อง

1. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ระบุผู้รับได้กี่คน

  ...........ก. 1 คน        ...........ข. 15 คน

  ...........ค. ไม่จำกัดจำนวน      ...........ง. ผิดทุกข้อ

2. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด มีกี่แบบ

...........ก. 1 แบบ        ...........ข. 2 แบบ

...........ค. 3 แบบ        ...........ง. 4 แบบ

3. สูตรคำนวณ บำเหน็จตกทอด ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย คือข้อใด

...........ก. เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ (ปี)

...........ข. บำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือน คูณ 15

...........ค. บำนาญรายเดือน คูณ 15 ลบบำเหน็จดำรงชีพ (ถ้ามี)

...........ง. บำนาญรายเดือน คูณ 30 ลบบำเหน็จดำรงชีพ (ถ้ามี)

4. สูตรคำนวณ บำเหน็จตกทอด ข้าราชการถึงแก่ความตาย คือข้อใด

...........ก. เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ (ปี)

...........ข. เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ จำนวนปีที่รับราชการ หาร 50

...........ค. เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณ จำนวนปีที่รับราชการ หาร 50

...........ง. เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณ จำนวนปีที่รับราชการ หาร 50 จะต้องไม่เกิน 70 % ของ

เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

5. “ลูกจ้าง “ หมายความว่า ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย ลูกจ้างผู้ใด

ตายในระหว่างรับราชการให้จ่าย “เงินช่วยพิเศษ” เป็นจำนวนเท่าใด

...........ก. จำนวน 1 เท่า ของอัตราจ้างปกติในเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย  

...........ข. จำนวน 3 เท่า ของอัตราจ้างปกติในเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

...........ค. จำนวน 30 เท่า ของอัตราจ้างปกติในเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

...........ง. ไม่มีเงินช่วยพิเศษ

6. กรณีไม่มีทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายและผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาให้ผู้ใดหรือแสดงเจตนาไว้แต่คนถูกระบุนั้นตายไปก่อน สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นของผู้ใด

...........ก. ปู่ ย่า ตา ยาย       ...........ข. ลุง ป้า

...........ค. น้า อา ...........ง. สิทธิเป็นอันยุติลง

7. บำเหน็จตกทอดคือ เงินที่จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของข้าราชการ ผู้รับบำนาญ

ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนที่ถึงแก่ความตาย เงินที่กรมบัญชีกลางจ่ายให้ทายาท

จ่ายอย่างไร

...........ก. จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว    ...........ข. จ่าย 2 งวด

...........ค. จ่าย 3 งวด ...........ง. จ่าย 4 งวด

8. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดมีผลเมื่อใด

...........ก. นับถัดจากวันที่ยื่นหนังสือแสดงเจตนา  ...........  ข. นับแต่วันที่ยื่นหนังสือแสดงเจตนา

...........ค. เมื่อผู้แสดงเจตนาถึงแก่ความตาย ...........  ง. ผิดทุกข้อ

9. กรณีเป็นสมาชิก กบข. เอกสารประกอบการขอรับเงินคือข้อใด

...........ก. แบบ 1 (หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด)      

...........ข. แบบ 2 (หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด

...........ค. แบบ ป.ค.14 (แบบบันทึกสอบปากคำของทายาท)

...........ง. ผิดทุกข้อ

10. สูตรบำเหน็จตกทอดข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

...........ก. ข้าราชการถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ

สูตร เงินเดือนเดือนสุดท้าย * เวลาราชการ (ปี)

...........ข. ข้าราชการถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ

สูตร เงินเดือนเดือนสุดท้าย * 3 เท่า

...........ค. ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย

สูตร บำนาญรายเดือนบวก ช.ค.บ. * 30 - บำเหน็จดำรงชีพ (ถ้ามี)

...........ง. ผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตาย

สูตร บำเหน็จรายเดือน หรือบำเหน็จพิเศษรายเดือน * 15