สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนม
Nakhonphanom Area Excise Office

กรมสรรพสามิต(Excise Department)2

กรมสรรพสามิต | Excise Department ข่าวประชาสัมพันธ์

ภาพรวม.jpg

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนม นำโดยนายธรรมรัตน์ เนียมมาลัย สรรพสามิตพื้นที่นครพนม พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัด เข้าร่วมรัฐพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนม นำโดยนายธรรมรัตน์ เนียมมาลัย พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัด เข้าร่วมรัฐพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครพนม  อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม

ในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕ 

ปก.jpg

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนม ร่วมแถลงการณ์จับกุมผู้ต้องหา 4 ราย พร้อมของกลางกัญชาแห้งอัดแท่ง 

วันที่ 7 สิงหาคม 2564 ที่สโมสรทหารสัญญาบัตร หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงนครพนม โดยสถานีเรือนครพนม บูรณาการร่วมกับชุดสืบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครพนม จับกุมผู้ต้องหาจำนวน 4 ราย พร้อมของกลางยาเสพติดประเภทที่ 5 กัญชาแห้งอัดแท่ง จำนวน 140 กิโลกรัม ยาไอซ์น้ำหนักประมาณ 100 กรัม อาวุธปืนพกสั้น ขนาด 9 มม.จำนวน 1 กระบอก 

ปก.jpg

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนม โดยนายศุภมิตร  พินิจการ ร่วมแถลงการณ์จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายคดียาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 (กัญชาแห้งอัดแท่ง)

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00 น. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนม โดยเรือเอกดุลพินิจ  ณ นครพนม  สรรพสามิตพื้นที่นครพนม ได้มอบหมายให้นายศุภมิตร  พินิจการ สรรพสามิตพื้นที่สาขาธาตุพนม  เข้าร่วมการแถลงการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย คดียาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญญาแห้งอัดแท่ง) จำนวน 395 แท่ง/กิโลกรัม ภายใต้การอำนวยการของ พล.ร.ต.จรัส  เกียรติไชยพันธุ์ ผบ.นรข. โดยแถลงการณ์ที่สถานีเรือธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

205187.jpg

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนมได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย Focus Group สถานีใบยาดอนนางหงส์ 

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564   สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครพนมได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย Focus Group สถานีใบยาดอนนาทาม  ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและรับฟัวความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เพาะปลูกต้นยาสูบ

forking-create-02-tn.jpg

ขอเชิญร่วมลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๔

ขอเชิญร่วมลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๔

 

 

เศรษฐกิจชุมชน11.jpg

คณะทำงานส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ได้พิจารณาคัดเลือกสินค้าที่มีความโดดเด่นประจำจังหวัดนครพนม (OTOP) คือ "ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ของกลุ่มเด็กและเยาวชนบ้านดงป่ายูง"  

คณะทำงานส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ตามเกณฑ์การพิจารณาคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) จังหวัดนครพนม ได้พิจารณาคัดเลือกสินค้าที่มีความโดดเด่นประจำจังหวัดนครพนม (OTOP) คือ "ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ของกลุ่มเด็กและเยาวชนบ้านดงป่ายูง" ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

 องค์ความรู้-ภูมิปัญญาท้องถิ่น
บ้านดงป่ายูง มีต้นกำเนิดมาจาก 2 ชนเผ่า คือ ไทกระเลิงและไทยกวน โดยในปัจจุบันไทยกวนเป็นชนเผ่าของหมู่บ้านที่ได้รับการอนุมัติการกระทรวงวัฒนธรรม และในปัจจุบันได้มีชนเผ่าภูไทซึ่งเป็นอีกหนึ่งชนเผ่าที่ อยู่อาศัยด้วยกันในหมู่บ้าน โดยจะเน้นพูดภาษาที่เป็นการผสมผสานและดัดแปลงให้เป็นภาษาเฉพาะถิ่นคือภาษาไทกระเลิง รวมทั้งยังมีการสืบสานประเพณีต่างๆ ที่เคยทำตั้งแต่ในอดีต เช่น การบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขน ให้ยังคงไว้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ไม่ไผ่ เป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญของบ้านดงป่ายูง เพราะบ้านดงป่ายูงมีป่าไผ่เป็นป่าชุมชน จึงทำให้การจักสาน ของบ้านดงป่ายูงเป็นอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นอย่างมากการันตีด้วยการเป็นหมู่บ้านเดียวของจังหวัดที่ได้รับรางวัลเรื่องการทำการจักสานจากไม้ไผ่และยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่าง และกาไม่ได้จากหมู่บ้านอื่นคือ การต้มเกลือจากน้ำบาดาลกลายเป็นเกลือสินเธาว์ ซึ่งหาดูได้ยากจากที่อื่นหลังการตกตระกอน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นภูมิปัญญา ของคนในชุมชน ที่กลายมาเป็นอาชีพหลักและสร้างรายได้ ให้แก่หมู่บ้าน
แม้จะได้รับการจัดสรรให้ปลูกไผ่ประจำตระกูล แต่ปริมาณไม้ไผ่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการผลิต ดังนั้น ชาวชุมชนจึงต้องปลูกไผ่ในพื้นที่บ้านของตนเพิ่มเติม ในอดีตการปลูกไผ่ในบ้านจะได้ปล้องสั้นซึ่งไม่เหมาะกับการนำมาจักสาน ชาวชุมชนจึงได้พัฒนาการปลูกไผ่ให้ลำต้นเบียดชิดกัน ซึ่งจะทำให้ไผ่ต้องปรับลำต้นให้สูงขึ้นเพื่อรับแสง ดังนั้น ลำปล้องไผ่ที่ได้จะมีความยาวมากขึ้นนั่นเอง

งานจักสาน ภูมิปัญญาที่โดดเด่น
ผลงานด้านภูมิปัญญาที่โดดเด่นของชาวชุมชนบ้านดงป่ายูง คือ “งานจักสานไม้ไผ่” โดยเฉพาะงานสานกระติบข้าวซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมในกลุ่มจักสานประมาณ 120 ครัวเรือน คิดเป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนในช่วงนอกฤดูทางการเกษตร เฉลี่ยถึงเดือนละ 300,000 บาท ทั้งนี้ รายได้ส่วนหนึ่งจะถูกจัดสรรให้กับกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้านดงป่ายูง เพื่อใช้พัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ ซึ่งครอบคลุมรวมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
วิถีป่า วิถีชุมชน บ้านดงป่ายูงมีการปลูกป่าชุมชนต้นแบบและให้บำรุงรักษาตามพื้นที่ของแต่ละครอบครัวที่ได้รับการจัดสรร โดนนำไผ่ที่ปลูกมาจักสานเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องประดับตกแต่งบ้าน และกระเป๋าสานจากไม้ไผ่โดยพัฒนาลายสานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น ลายประยุกต์ ลายดอกผักแว่น ลายผสมชื่อ “นครพนม” ฯลฯ