เกี่ยวกับสำนักงาน > หน้าที่ความรับผิดชอบ
  

 หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักบริหารการคลังและรายได้

 
หน้าที่และความรับผิดชอบ | โครงสร้างการแบ่งงานภายในฝ่ายอำนวยการ

ส่วนบริหารบัญชีและงบประมาณ | ส่วนบริหารการเบิกจ่าย | ส่วนจัดหาและบริหารแสตมป์

 ส่วนบริหารการพัสดุ | ส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 
 

หน้าที่และความรับผิดชอบสำนักบริหารการคลังและรายได้

  

1. ดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์แผนงาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อจัดตั้ง
    งบประมาณรายจ่ายประจำปี และพัฒนาวิธีการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

2. บริหารแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณและติดตามประเมินผลความคุ้มค่า

3. จัดทำบัญชีและรายงานการเงินเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการรับ-จ่ายและแสดงสถานะการเงิน

4. ดำเนินการเบิก-จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณผ่านระบบบริหารการเงินการคลัง (GFMIS)
    ในโครงการจ่ายตรง

5. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารรายได้และบริการธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา
    วิธีการรับเงินรายได้ผ่านระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS)

6. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดหาและบริหารแสตมป์

7. ดำเนินการด้านพัสดุในการจัดหา เก็บรักษา ควบคุม ซ่อมบำรุงจำหน่ายพัสดุครุภัณฑ์และงานที่ราชพัสดุ

8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 
 Rg1-footer.jpg
<<กลับด้านบน
 

โครงสร้างการแบ่งงานภายในเป็น 1 ฝ่าย 5 ส่วน ดังนี้

 

1. ฝ่ายอำนวยการ

2. ส่วนบริหารบัญชีและงบประมาณ

2.1 ฝ่ายบัญชี
2.2 ฝ่ายเงินงบประมาณ
2.3 ฝ่ายเงินนอกงบประมาณ            

3. ส่วนบริหารการเบิกจ่าย

3.1 ฝ่ายบริหารการเบิกจ่าย 1 (งินเดือนและสวัสดิการ)
3.2 ฝ่ายบริหารการเบิกจ่าย 2 (ตรวจสอบใบสำคัญ)
3.3 ฝ่ายบริหารการเบิกจ่าย 3 (เบิกจ่ายเงิน)

4. ส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

4.1 ฝ่ายบริหารรายได้
4.2 ฝ่ายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 5. ส่วนจัดหาและบริหารแสตมป์

5.1 ฝ่ายวางแผนการจัดหาแสตมป์
5.2 ฝ่ายควบคุมและบริหารแสตมป์ 1 (สุรา)

5.2.1 งานควบคุมแสตมป์
5.2.2 งานบัญชีรับ-จ่ายและรายงาน

5.3 ฝ่ายควบคุมและบริหารแสตมป์ 2 (อุตสาหกรรม)

5.3.1 งานควบคุมแสตมป์
5.3.2 งานบัญชีรับ-จ่ายและรายงาน

 6. ส่วนบริหารการพัสดุ

6.1 ฝ่ายบริหารงานพัสดุ
6.2 ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์

 
Rg1-footer.jpg

<<กลับด้านบน

 

community_48.pngหน้าทีความรับผิดชอบของฝ่ายอำนวยการ

 หน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 
  • บริหารงานสารบรรณและกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานธุรการทั่วไปของสำนักให้มีประสิทธิภาพ

  • นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารงานให้มีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการลงทะเบียนรับ – ส่งหนังสือด้วยระบบสารบรรณอีเล็คทรอนิกส์

  • เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและหนังสือต่าง ๆ ในหน้าที่ของสำนักให้มีประสิทธิภาพ

  • จัดทำการรวบรวมสรุปแผนปฏิบัติงานตามโครงการและงบประมาณที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสำนัก

  • ติดตาม เร่งรัด รวบรวมและรายงานแผนงานโครงการ เพื่อสนับสนุนผลการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการของกลุ่มงานในสำนัก

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุของสำนัก

  • ประสานงานและให้บริการแก่หน่วยงานในสำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 
 Rg1-footer.jpg

<<กลับด้านบน

 

community_48.pngหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนบริหารบัญชีและงบประมาณ

 หน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 
  • วิเคราะห์แผนงานและโครงการเพื่อจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมสรรพสามิตให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

  • จัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยระบบ E-Budgeting

  • ขออนุมัติเงินงบกลางและขออนุมัติโอนเงินประจำงวด

  • วิเคราะห์และกำหนดหลักเกณฑ์และโอนจัดสรรเงินประจำงวดให้หน่วยงานต่างๆ ภายในสังกัด โดยผ่านระบบ GFMIS

  • ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการเงินงบประมาณและเงินประจำงวด

  • ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณเบิกแทนกัน

  • จัดทำประมาณการรายรับเงินฝากค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่น

  • วิเคราะห์แผนงานและโครงการของหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ

  • กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินฝากค่าใช้จ่ายการเก็บภาษีท้องถิ่นประจำปีตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และโอนเงินให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบ GFMIS

  • จัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

  • ขออนุมัติกรมใช้เงินฝากค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มเติมให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ขออนุมัติกระทรวงการคลังใช้เงินฝากค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการและถัวจ่าย เงินนอกงบประมาณ

  • ควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

  • จัดทำและตรวจสอบการบันทึกบัญชี

  • จัดทำต้นทุนผลผลิต วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

  • วิเคราะห์ ประเมินผลและติดตามผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีของหน่วยงานในสังกัด ในระบบ GFMIS

  • จัดทำและวิเคราะห์งบการเงินประจำปี เพื่อเสนอผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

การแบ่งงานภายในออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

 

ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

            

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบันทึกบัญชีเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เงินทดรองราชการและเงินอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต

  • ควบคุม กำกับ ดูแล เกี่ยวกับงานในระบบ GFMIS ด้านระบบรับนำส่งรายได้ ระบบเบิกจ่าย ระบบบัญชีแยกประเภท ระบบสินทรัพย์ถาวร

  • จัดทำและตรวจสอบการจัดทำงบเดือน ตรวจสอบเงินฝากคลังของกรมสรรพสามิตกับกรมบัญชีกลางและหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และระหว่างกรมสรรพสามิตและหน่วยงานที่มีการจัดเก็บรายได้แทนกัน

  • ตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารกับ Bank Statement ตรวจสอบการบันทึกรายการบัญชีของหน่วยงานส่วนภูมิภาคในระบบ GFMIS

  • ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานทางด้านบัญชีกับหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

  • ตรวจสอบความถูกต้องของใบสำคัญการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินงบกลาง และเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

  • จัดทำรายละเอียดทางบัญชี เพื่อกระทบยอดกับใบสำคัญต่าง ๆ

  • จัดเก็บรักษาใบสำคัญการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินงบกลาง และเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการตรวจสอบของกลุ่มตรวจสอบภายใน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

  • ตรวจสอบบัญชีพักเงินฝากคลัง จัดทำงบกระแสเงินสด จัดทำรายงานการเงินประจำเดือน งบการเงินประจำปี วิเคราะห์การเงินประจำปี

  • เร่งรัดการบันทึกรายการบัญชีในระบบ GFMIS ให้ถูกต้องครบถ้วน

  • ศึกษา วิเคราะห์และตรวจรายงานการเงินและบัญชีในระบบ GFMIS

  • ติดต่อประสานงานกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการเป็นผู้รับตรวจเกี่ยวกับหลักฐานการเบิกจ่ายต่าง ๆ

  • กำหนดรหัสบัญชี และคู่มือแนวปฏิบัติทางการเงินและบัญชีให้กับหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

  • ดำเนินการปรับปรุงบัญชีต่าง ๆ ในระบบ GFMIS

 

ฝ่ายเงินงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   
  • ดำเนินการวิเคราะห์แผนงานและโครงการของหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อจัดทำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมสรรพสามิต ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

  • จัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยระบบ E-Budgeting

  • ขออนุมัติเงินงบกลาง ขออนุมัติเงินประจำงวด

  • กำหนดหลักเกณฑ์และจัดสรรเงินประจำงวดให้หน่วยงานในสังกัด ผ่านระบบ GFMIS

  • ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการเงินงบประมาณและเงินประจำงวด

  • จัดทำคำขอตั้งงบราชการลับ สร้างข้อมูลหลักผู้ขายของงบประมาณเบิกแทนกัน สร้างรหัสงบประมาณเพิ่มเติม

  • จัดทำเอกสารสำรองเงินในระบบ GFMIS จัดทำเอกสารเบิกแทนกัน

  • รวบรวมข้อมูลรายได้และรายจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

  • จัดทำรายงานต้นทุนผลผลิตและวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนผลผลิตระหว่างปี หาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

  • กำหนดแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและขอขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ GFMIS

  • เร่งรัดติดตามผลและควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ฝ่ายเงินนอกงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   
  • จัดทำประมาณการรายรับเงินฝากค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่น

  • วิเคราะห์แผนงานและโครงการของหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ

  • กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินฝากค่าใช้จ่ายการเก็บภาษีท้องถิ่นประจำปีตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และโอนเงินให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบ GFMIS

  • ขออนุมัติกรมใช้เงินฝากค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มเติมให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ขออนุมัติกระทรวงการคลังใช้เงินฝากค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการและถัวจ่าย เงินนอกงบประมาณ

  • ตรวจสอบยอดรายรับที่หน่วยงานต่างๆ โอนเงินผ่านระบบ GFMIS ให้กับกรมสรรพสามิตเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานและควบคุมการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณให้เป็นตามแผนงาน/โครงการ และตามระเบียบ/ข้อบังคับ ที่กำหนด

  • ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ

 
 Rg1-footer.jpg

 <<กลับด้านบน

 

community_48.pngหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนบริหารการเบิกจ่าย

 หน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหาร ควบคุม และตรวจสอบและอนุมัติเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินตามโครงการจ่ายตรง และเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ GFMIS เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกองทุน และเงินอื่นๆ

  • ดำเนินการตรวจสอบ การสั่งโอนเงินหรือสั่งจ่ายผ่านส่วนราชการ และจ่ายตรงผู้ขาย

  • การจัดทำรายงาน การเบิกจ่ายตามระเบียบหรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

  • ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และเสนอแนวทางปรับปรุง ระบบสวัสดิการ ค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ

  • ดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และกำหนดเป้าหมาย มาตรการต่าง ๆ เพื่อให้อัตราการเบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าหมาย

  • วิเคราะห์และติดตามข้อมูลแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณของกรมสรรพสามิต

  • ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขฐานข้อมูลในระบบ GFMIS

  • ให้ความรู้ คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในสังกัด

 

การแบ่งงานภายในออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

 

ฝ่ายบริหารการเบิกจ่าย 1 (เงินเดือนและสวัสดิการ) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

            

 

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารการเบิกจ่ายงบบุคลากรและเงินอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการจ่ายตรงเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และเงินบำเหน็จบำนาญ

  • การเบิกจ่ายค่าตอบแทนพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวและเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ GFMIS

  • การตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงฐานข้อมูลเงินเดือนและที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างประจำ รายการเบิกจ่ายทั้งด้านรายได้และหนี้สิน การหักภาษีเงินได้ประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสจ.) ภาระผูกพันต่าง ๆ ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการบำนาญ พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราว

  • การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการสั่งจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่เจ้าหน้าที่และผู้บริหาร

  • จัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารเกี่ยวกับเงินสวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ กองทุนต่างๆ ของกรมสรรพสามิต

  • สรุปยอดรายการเบิกจ่ายทั้งด้านรายได้และรายจ่ายจำแนกเป็นรายการ ตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งให้ฝ่ายควบคุมการจ่ายเงินสั่งจ่ายเงิน

  • ศึกษาและวางแนวทางในการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการ 

 

ฝ่ายบริหารการเบิกจ่าย 2 (ตรวจสอบใบสำคัญ) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   
  • ดำเนินการเบิกเงินหมวดอื่นที่นอกเหนือจากงบบุคลากร (งบดำเนินงาน งบลงทุน งบอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น) รวมถึงการเบิกจ่ายเงินงบกลาง ประเภทสวัสดิการแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และข้าราชการบำนาญ ของเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณผ่านระบบ GFMIS

  • วิเคราะห์และติดตามข้อมูลแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณของกรมสรรพสามิต

  • การถอนคืนเงินรายได้แผ่นดินเพื่อชดใช้เงินทดรองจ่ายที่กรมศุลกากรจ่ายคืนเงินประเภทภาษีสรรพสามิต องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

  • ควบคุม ตรวจสอบและบริหารเงินยืม เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินทดรองราชการ

  • จัดทำและตรวจสอบรายงานการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ GFMIS

  • ให้ความรู้ คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน ให้แก่หน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

  • ศึกษาและวางแนวทางในการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบใบสำคัญ

 

ฝ่ายบริหารการเบิกจ่าย 3 (เบิกจ่ายเงิน) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   

 

  • ดำเนินการจ่ายเงินแก่เจ้าหน้าที่ เจ้าหนี้ บุคคลภายนอก รับผิดชอบในการตรวจสอบการรับโอนเงินจากกรมบัญชีกลางทั้งในโครงการจ่ายตรง และเบิกจ่ายผ่านระบบ GFMIS

  • สั่งจ่ายเช็ค จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินประจำวัน เงินคงเหลือประจำวัน สอบทานยอดเงินฝากกับรายงานของธนาคาร

  • ติดตามหลักฐานการจ่ายตามโครงการจ่ายตรงผู้ขาย

  • รวบรวมหลักฐานการจ่ายส่งงานบัญชีเพื่อบันทึกรายการบัญชี ดำเนินการจ่ายเงินประเภทเงินทดรองจ่าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เงินทดรองจ่าย กองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

  • ตรวจสอบและอนุมัติโอนเงินประกันกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

  • ควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น ธนาคารพาณิชย์ กรมบัญชีกลาง เจ้าหนี้ บุคคลภายนอก เป็นต้น

  • จัดทำฐานข้อมูล สถิติการเบิกจ่ายเงินกองทุนต่าง ๆ

  • การจัดทำรายงาน การเบิกจ่ายตามระเบียบหรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

  • ศึกษา รวบรวมข้อมูลในการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายเงินแก่เจ้าหน้าที่ เจ้าหนี้ บุคคลภายนอก

 
 Rg1-footer.jpg

 <<กลับด้านบน

 

community_48.pngหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนจัดหาและบริหารแสตมป์

 หน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 
  • ควบคุมการจัดทำแผนงาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 
  • วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเพื่อจัดทำประมาณการขออนุมัติจัดจ้างพิมพ์แสตมป์ประจำปี

  • ควบคุมการจัดทำประมาณการ การใช้แสตมป์ เพื่อขออนุมัติกรม จัดจ้างพิมพ์แสตมป์ประจำปี โดยประสานงานกับส่วนบริหารการพัสดุ

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ที่ผู้รับจ้างพิมพ์นำมาส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามคุณสมบัติกำหนดคุณลักษณะแสตมป์ตามกฎกระทรวงฯ ที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างพิมพ์

  • วิเคราะห์ วางแผน ควบคุม ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบตรวจนับและเก็บรักษาแสตมป์

  • ควบคุมการดำเนินการขออนุมัติกรมสั่งพิมพ์แก้ไขแสตมป์ และพิมพ์ขนาดภาชนะลงบนดวงแสตมป์

  • ควบคุมและตรวจสอบการจัดทำงบเดือน และสถิติการรับ-จ่ายยอดคงเหลือแสตมป์ทุกชนิดของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ (ทุกเดือนและสรุปยอดทั้งปี)

  • ควบคุมการจัดทำรายงานการใช้แสตมป์เปรียบเทียบกับประมาณการเพื่อจัดหาแสตมป์ไว้สำรองจ่ายให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการและสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

  • พัฒนานำระบบ IT มาใช้ในการบริหารงานแสตมป์

 

 

การแบ่งงานภายในออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

 

ฝ่ายวางแผนการจัดหาแสตมป์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

            

  • วางแผนเกี่ยวกับการประมาณการพิมพ์แสตมป์ให้สอดคล้องกับการเบิก-จ่ายแสตมป์ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกพื้นที

  •  

  • จัดทำสถิติ รวบรวม ข้อมูล และวิเคราะห์ เพื่อประกอบการประมาณการพิมพ์แสตมป์สรรพสามิต สรุปรายงานการเบิก-จ่ายแสตมป์ในแต่ละปีเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (สูง/ต่ำ)

  • ขออนุมัติจัดพิมพ์แสตมป์และพิมพ์ขนาดภาชนะลงบนดวงแสตมป์ พร้อมการตั้งประมาณการค่าใช้จ่าย (งบประมาณ) ในการพิมพ์แสตมป์ประจำปี

  • พิจารณากำหนดลักษณะแสตมป์และคุณสมบัติกระดาษที่ใช้พิมพ์แสตมป์ เพื่อขออนุมัติกรม ก่อนให้บริษัทผู้รับจ้างจัดพิมพ์แสตมป์

  • ขออนุมัติกรม พิมพ์แก้ไขแสตมป์ ซึ่งนำแสตมป์ที่ไม่มีการเบิกจ่ายเป็นเวลานานมาพิมพ์แก้ไข โดยจ้างโรงงานไพ่พิมพ์เป็นกรณีพิเศษหรือเร่งด่วน

  • จัดทำบันทึกเพื่อส่งตัวอย่างแสตมป์ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สรุปรายงานแสตมป์คงเหลือในแต่ละเดือน

  • ประสานงานกับส่วนบริหารการพัสดุเพื่อขออนุมัติการประมาณการพิมพ์แสตมป์ประจำปี และกรณีเร่งด่วน

 

ฝ่ายควบคุมและบริหารแสตมป์ 1 (สุรา) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   
  • รวบรวม จัดเก็บข้อมูลและจัดทำสถิติผลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ ตรวจนับและเก็บรักษาแสตมป์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจรับแสตมป์ที่จ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ในประเทศและต่างประเทศตามสัญญาจ้างพิมพ์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ที่ผู้รับจ้างพิมพ์นำมาส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามคุณสมบัติกำหนดคุณลักษณะแสตมป์ตามกฎกระทรวงฯ ที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างพิมพ์

  • ควบคุมกำกับดูแลการจ่ายและรับแสตมป์ที่โรงงานไพ่นำไปพิมพ์แก้ไขบนดวงแสตมป์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์เมื่อมีแสตมป์ชำรุดแจ้งบริษัทผู้รับจ้างพิมพ์นำมาทดแทนตามที่กำหนดในสัญญาจ้างพิมพ์

  • ควบคุมกำกับดูแลการนำแสตมป์ที่ตรวจสอบ ตรวจนับถูกต้องและแสตมป์ชำรุดที่ได้รับการทดแทนแล้วเข้าบัญชี

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบเอกสารการส่งแสตมป์จากผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์นำมารวบรวมเพื่อปิดงวด เมื่อผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์ส่งแสตมป์ครบถ้วนตามสัญญาจ้างพิมพ์ แจ้งส่วนบริหารการพัสดุดำเนินการ

  • ควบคุมกำกับดูแลการเบิก-จ่ายแสตมป์ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

  • ควบคุมการจัดส่งแสตมป์สายภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามงวดการส่งแสตมป์

  • ตรวจสอบแสตมป์คงเหลือในคลังแสตมป์ 1ให้ถูกต้องตรงกับบัญชีรับ-จ่ายแสตมป์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์หมวดสุราส่งคืน กรณีแสตมป์ที่หมดความจำเป็นในการใช้หรือเกิดการชำรุดจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับแสตมป์ส่งคืน

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ชำรุดและแสตมป์ที่หมดความจำเป็นในการใช้ ขออนุมัติกรมสรรพสามิตทำลายทุกสิ้นปี

  • ควบคุมการจัดทำงบเดือนรับ-จ่ายแสตมป์และรายงานสรุปผลการรับ-จ่ายแสตมป์ประจำเดือน

  • เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุการสั่งจ้างพิมพ์แสตมป์

   

     4.2.1 งานควบคุมแสตมป์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ตรวจสอบ ตรวจรับแสตมป์ที่จ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ในประเทศและต่างประเทศตามสัญญาจ้างพิมพ์

  • ตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ที่ผู้รับจ้างพิมพ์นำมาส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามคุณสมบัติกำหนดคุณลักษณะแสตมป์ตามกฎกระทรวงฯ ที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างพิมพ์

  • ตรวจสอบการจ่ายและรับแสตมป์ที่โรงงานไพ่นำไปพิมพ์แก้ไขบนดวงแสตมป์

  • ตรวจสอบเอกสารการส่งแสตมป์จากผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์นำมารวบรวมเพื่อปิดงวด เมื่อผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์ส่งแสตมป์ครบถ้วนตามสัญญาจ้างพิมพ์ แจ้งส่วนบริหารการพัสดุดำเนินการ

  • จัดส่งแสตมป์สายภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามงวดการส่งแสตมป์

  • ตรวจสอบยอดแสตมป์คงเหลือในคลังแสตมป์ 1 ให้ตรงกับบัญชี

  • จ่ายแสตมป์หมวดสุราให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมบันทึกบัญชีประจำวัน

  • รับคืนแสตมป์หมวดสุราที่หมดความจำเป็นในการใช้หรือเกิดการชำรุดจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

      4.2.2 งานบัญชีรับ-จ่ายและรายงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • จัดทำบัญชีรับ – จ่ายแสตมป์หมวดสุรา

  • ตรวจสอบแสตมป์คงเหลือในคลังแสตมป์ 1 ให้ตรงกับบัญชี

  • จัดทำรายงานแสตมป์คงเหลือประจำวัน ประจำเดือนและประจำปี

  • จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แผนปฏิบัติการเพื่อใช้ประกอบการของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี

  • จัดทำประเมินผลการควบคุมภายใน

  • จัดทำงบเดือนรับ – จ่ายแสตมป์และรายงานสรุปผลการรับ – จ่ายแสตมป์ประจำเดือน

  • จัดทำงบประมาณรายจ่าย

  • ตรวจสอบแสตมป์หมวดสุราส่งคืนจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับแสตมป์ส่งคืน

  • จัดทำรายงานมูลค่าแสตมป์คงเหลือหมวดสุราทุกสิ้นเดือน และทุกสิ้นปี

  • ตรวจสอบแสตมป์ชำรุดและแสตมป์ที่หมดความจำเป็นในการใช้เพื่อดำเนินการขออนุมัติกรมสรรพสามิตทำลายทุกสิ้นปี

     
     
     
 

ฝ่ายควบคุมและบริหารแสตมป์ 2 (อุตสาหกรรม) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   
  • รวบรวม จัดเก็บข้อมูลและจัดทำสถิติผลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ ตรวจนับและเก็บรักษาแสตมป์ 

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจรับแสตมป์ที่จ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ในประเทศและต่างประเทศตามสัญญาจ้างพิมพ์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ที่ผู้รับจ้างพิมพ์นำมาส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามคุณสมบัติกำหนดคุณลักษณะแสตมป์ตามกฎกระทรวงฯ ที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างพิมพ์

  • ควบคุมกำกับดูแลการจ่ายและรับแสตมป์ที่โรงงานไพ่นำไปพิมพ์แก้ไขบนดวงแสตมป์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์เมื่อมีแสตมป์ชำรุดแจ้งบริษัทผู้รับจ้างพิมพ์นำมาทดแทนตามที่กำหนดในสัญญาจ้างพิมพ์

  • ควบคุมกำกับดูแลการนำแสตมป์ที่ตรวจสอบ ตรวจนับถูกต้องและแสตมป์ชำรุดที่ได้รับการทดแทนแล้วเข้าบัญชี

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบเอกสารการส่งแสตมป์จากผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์นำมารวบรวมเพื่อปิดงวดเมื่อผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์ส่งแสตมป์ครบถ้วนตามสัญญาจ้างพิมพ์ แจ้งส่วนบริหารการพัสดุดำเนินการ

  • ควบคุมกำกับดูแลการเบิก-จ่ายแสตมป์ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

  • ควบคุมการจัดส่งแสตมป์สายภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามงวดการส่งแสตมป์

  • ตรวจสอบแสตมป์คงเหลือในคลังแสตมป์ 2 ให้ถูกต้องตรงกับบัญชีรับ-จ่ายแสตมป์

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์หมวดอุตสาหกรรมส่งคืน กรณีแสตมป์ที่หมดความจำเป็นในการใช้หรือเกิดการชำรุดจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับแสตมป์ส่งคืน

  • ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ชำรุดและแสตมป์ที่หมดความจำเป็นในการใช้ ขออนุมัติกรมสรรพสามิตทำลายทุกสิ้นปี

  • ควบคุมการจัดทำงบเดือนรับ-จ่ายแสตมป์และรายงานสรุปผลการรับ-จ่ายแสตมป์ประจำเดือน

  • ควบคุมกำกับดูแลการใช้ระบบ Computer Online แสตมป์เครื่องปรับอากาศ

  • เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุการสั่งจ้างพิมพ์แสตมป์

 

   

     4.3.1 งานควบคุมแสตมป์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ตรวจสอบ ตรวจรับแสตมป์ที่จ้างพิมพ์จากโรงพิมพ์ในประเทศและต่างประเทศตามสัญญาจ้างพิมพ์

  • ตรวจสอบ ตรวจนับแสตมป์ที่ผู้รับจ้างพิมพ์นำมาส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามคุณสมบัติกำหนดคุณลักษณะแสตมป์ตามกฎกระทรวงฯ ที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างพิมพ์

  • ตรวจสอบการจ่ายและรับแสตมป์ที่โรงงานไพ่นำไปพิมพ์แก้ไขบนดวงแสตมป์

  • ตรวจสอบเอกสารการส่งแสตมป์จากผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์นำมารวบรวมเพื่อปิดงวด เมื่อผู้รับจ้างพิมพ์แสตมป์ส่งแสตมป์ครบถ้วนตามสัญญาจ้างพิมพ์ แจ้งส่วนบริหารการพัสดุดำเนินการ

  • จัดส่งแสตมป์สายภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามงวดการส่งแสตมป์

  • ตรวจสอบยอดแสตมป์คงเหลือในคลังแสตมป์ 2 ให้ตรงกับบัญชี

  • จ่ายแสตมป์หมวดอุตสาหกรรมให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมบันทึกลงบัญชีประจำวัน

  • รับคืนแสตมป์หมวดอุตสาหกรรมที่หมดความจำเป็นในการใช้หรือเกิดการชำรุดจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

      4.3.2 งานบัญชีรับ-จ่ายและรายงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • จัดทำบัญชีรับ – จ่ายแสตมป์หมวดอุตสาหกรรม

  • ตรวจสอบแสตมป์คงเหลือในคลังแสตมป์ 2 ให้ตรงกับบัญชี

  • จัดทำรายงานแสตมป์คงเหลือประจำวัน ประจำเดือนและประจำปี

  • จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แผนปฏิบัติการเพื่อใช้ประกอบการของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี

  • จัดทำประเมินผลการควบคุมภายใน

  • จัดทำงบเดือนรับ – จ่ายแสตมป์และรายงานสรุปผลการรับ – จ่ายแสตมป์ประจำเดือน

  • จัดทำงบประมาณรายจ่าย

  • ตรวจสอบแสตมป์หมวดอุตสาหกรรมส่งคืนจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับแสตมป์ส่งคืน

  • จัดทำรายงานมูลค่าแสตมป์คงเหลือหมวดอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือน และทุกสิ้นปี

  • ตรวจสอบแสตมป์ชำรุดและแสตมป์ที่หมดความจำเป็นในการใช้เพื่อดำเนินการขออนุมัติกรมสรรพสามิตทำลายทุกสิ้นปี

     
 Rg1-footer.jpg

 <<กลับด้านบน

 

community_48.pngหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนบริหารการพัสดุ

 หน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหาร วิเคราะห์ วางแผน และตรวจสอบการบริหารงานพัสดุ การบริหารสัญญา การจัดหาแบบพิมพ์ จัดส่งแบบพิมพ์ให้ส่วนราชการในสังกัดจัดทำบัญชีพัสดุและทะเบียนครุภัณฑ์

  • จัดทำใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง (PO) จัดทำข้อมูลหลักผู้ขายสร้างข้อมูลหลักผู้ขาย สร้างข้อมูลหลัก ล้างพัก ตัดจำหน่าย โอน รับโอน รับบริจาคแก้ไขรายการ สินทรัพย์และคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ผ่านระบบการบริหารการเงินภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

  • ควบคุมการซ่อมแซมบำรุงรักษาพัสดุครุภัณฑ์ งานที่ราชพัสดุ

  • ควบคุมการใช้รถยนต์ ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษารถยนต์ส่วนกลาง จำหน่ายจ่ายยานพาหนะและครุภัณฑ์ที่เสื่อมคุณภาพ

  • ควบคุมดูแลการรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของอาคารสถานที่ งานสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในกรมสรรพสามิต

  • วิเคราะห์ วางแผน ควบคุมการลดการใช้พลังงาน งานปรับปรุงภูมิทัศน์ สถานที่ทำงานให้เหมาะสมพอเพียงแก่การปฏิบัติการ งานด้านสุขอนามัยในสถานที่ทำงาน

 

การแบ่งงานภายในออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

 

ฝ่ายบริหารงานพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

 

            

  • บริหารงานด้านพัสดุ ตั้งแต่การซื้อ การจ้าง การเก็บรักษา การจัดทำบัญชีครุภัณฑ์ การซ่อมแซมบำรุงรักษา การจำหน่ายพัสดุตลาด และงานที่ราชพัสดุ

  • ควบคุมดูแล การสาธารณูปโภค การรักษาความสะอาดของอาคารและสถานที่ของกรม การจัดเวรยามดูแลรักษาความปลอดภัย ควบคุม การใช้และดูแลรักษารถยนต์

  • ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ

  • การบริหารงานพัสดุ เช่น การจัดซื้อ การจัดจ้าง จัดหาแบบพิมพ์ การจัดส่งแบบพิมพ์ให้ส่วนราชการในสังกัดทางส่วนภูมิภาค การจัดทำบัญชีพัสดุและทะเบียนครุภัณฑ์ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ ควบคุมการซ่อมแซมบำรุงรักษาพัสดุครุภัณฑ์ และงานที่ราชพัสดุ 

 

 

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพย์สิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

   
  • จัดทำบัญชีรายการสินทรัพย์ ตัดจำหน่ายโอน รับโอน รับบริจาค แก้ไขรายการสินทรัพย์และคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ผ่านระบบการบริหารการเงินภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

  • ตรวจสอบพัสดุ จัดหาแบบพิมพ์และจัดส่งไปยังหน่วยงานในสังกัดกรม ตรวจสอบเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับพัสดุ

  • จัดทำทะเบียน จดทะเบียนและต่ออายุทะเบียนยานพาหนะ ขอยกเว้นเครื่องหมายด้านนอกยานพาหนะที่ใช้เฉพาะกิจ

  • ตรวจสอบสภาพยานพาหนะ ควบคุมการใช้รถยนต์

  • ซ่อมบำรุง ดูแลรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ภายในกรมและที่ได้รับส่งคืนให้มีสภาพพร้อมใช้งาน จำหน่ายจ่ายยานพาหนะและครุภัณฑ์ที่เสื่อมคุณภาพ

  • จัดทำทะเบียนที่ราชพัสดุ ดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยเส้นทางจราจร ที่จอดรถพร้อมการรักษาความปลอดภัยภายในกรมสรรพสามิต ดูแลบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค

  • วิเคราะห์ วางแผน ควบคุมการลดการใช้พลังงาน วางแผนปรับปรุงภูมิทัศน์ สถานที่ทำงาน งานด้านสุขอนามัยให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน

  • ติดต่อประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานภายใน ภายนอก

 
 Rg1-footer.jpg

 <<กลับด้านบน

 

community_48.pngหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 หน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 

 

 

งานหลัก        

- งานบริหารรายได้ การรับและนำส่งรายได้

- งานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจสอบการนำเข้าข้อมูลรับและนำส่งรายได้ ของกรมสรรพสามิตทั่วประเทศ

 

งานรอง   

- เสนอความเห็นกรมสรรพสามิตเพื่อขอถอนคืนเงินรายรับกรณีคืนเงินภาษีสรรพสามิตให้กับผู้มีสิทธิได้รับคืน

- ขออนุมัติกรมสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เช็คประเภท ง.(เช็คของผู้ประกอบการ)ชำระภาษี

 

งานรายได้การรับและนำส่งรายได้ของส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

รับชำระเงินให้กับกรมสรรพสามิต ของ ผู้ประกอบการ/ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิตเพื่อชำระเงินจากค่าภาษี

• ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต

• ตาม พ.ร.บ.สุรา 

• ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ

• ตาม พ.ร.บ.ไพ่

จากค่าภาษีสรรพสามิตจากการประเมินภาษี จากค่าปรับเปรียบเทียบคดี จากค่าใบอนุญาตประเภทต่าง ๆ จากเงินรายได้ประเภทอื่น ๆ

เช่น ค่าปรับเงื่อนไขของสัญญาสินค้าโซเว้นท์ เงินประกันซอง ฯลฯ            

 

ช่องทางการให้บริการผู้มีหน้าที่เสียภาษีในการรับชำระเงินของกรมสรรพสามิต

1. ชำระผ่านธนาคารกรุงไทย (ปัจจุบัน สินค้า พ.ร.บ.2527)

ผู้ชำระภาษียื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (แบบ ภษ. 01-12 ) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถ ชำระได้ทุกสาขาในกรุงเทพมหานคร (ยกเว้นสาขาย่อย) เพื่อเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาประดิพัทธ์ ผู้ชำระภาษีจะได้รับใบเสร็จรับเงิน จากธนาคาร ธนาคารจะส่งแบบฯ สำเนาใบเสร็จ มายังกรมสรรพสามิต (ส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักบริหารการคลังและรายได้) จากนั้นดำเนินการตรวจสอบเพื่อนำส่งรายได้                        

2.ชำระภาษีผ่านอินเตอร์เน็ท (ปัจจุบัน สินค้า พ.ร.บ.2527 )                    

(ผ่าน เว็บกรมสรรพสามิต) โดยผู้ประสงค์จะชำระในช่องทางนี้จะต้องทำการสมัครขอชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ท ก่อนศูนย์สารสนเทศเป็นผู้ดำเนินการ ผู้ประกอบการบันทึกรายการที่จะชำระภาษี เช่น (ข้อมูลจาก แบบรายการภาษีสรรพสามิต (แบบ ภษ.01-12) ทำรายการชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ท ส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จะดำเนินการในวันรุ่งขึ้น (ตามบัญชีธนาคารต่าง ๆ ของกรม เช่น กสิกรไทย ฯลฯ ที่มีการตกลงกับกรมฯ ผู้ชำระภาษีจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันรุ่งขึ้น หลังที่ได้ออกใบเสร็จรับเงิน โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ จากนั้นดำเนินการตรวจสอบเพื่อนำส่งรายได้    

3.ชำระ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และ ณ กรมสรรพสามิต

กรณีภาษีสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ภาษีอื่น ๆ ทุกประเภทของกรมฯ  ผู้ยื่นชำระเงิน   ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (แบบ ภษ.01-12 ) พร้อมเงินสด เช็คธนาคาร เช็คของผู้ประกอบการ ฯลฯ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศ และส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ชำระภาษีจะได้รับใบเสร็จรับเงิน จากหน่วยงานที่ได้รับเงิน จากนั้นดำเนินการตรวจสอบเพื่อนำส่งรายได้                               

4.บัตรธุรกิจธนาคาร

 กรมสรรพสามิตเปิดให้บริการรับชำระเงินแบบหักบัญชีอัตโนมัติด้วยบัตรธุรกิจธนาคารของกรมสรรพสามิต (Excise Smart Card) แทนเงินสดและเช็ค โดยใช้หลักการตัดเงินออกจากบัญชีเงินฝากของผู้ชำระเงินเข้าบัญชีกรมสรรพสามิตแบบทันที (Real time) ตามบันทึกข้อตกลงการให้บริการชำระเงินรายได้ของกรมสรรพสามิตด้วยบัตร Excise Smart Card ระหว่างกรมสรรพสามิตกับ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และระหว่างกรมสรรพสามิตกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ในระยะแรกเปิดให้บริการ ณ ส่วนบริหารรายได้และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพสามิต และเตรียมขยายบริการในระยะที่สอง เมื่อมีความพร้อมของธนาคารดำเนินการขยายบริการให้ครอบคลุมไปยังสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเริ่มจากพื้นที่เป้าหมาย จัดเตรียมสถานที่รองรับการติดตั้งระบบเครื่องรับบัตรที่กรมสรรพสามิตกำหนด เพื่อรับชำระภาษีเมื่อกรมสรรพสามิตขยายบริการ ในปีงบประมาณ 2555

ทั้งนี้ การให้บริการรับเงินในช่องทางนี้สามารถพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกับการพัฒนาระบบเครือข่ายภายในของกรมสรรพสามิต ในส่วนของการให้บริการผู้มีหน้าที่เสียภาษีกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการภาษีต่อกรมสรรพสามิตผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

 

 
 Rg1-footer.jpg

 <<กลับด้านบน